In focus / ได้เวลาปลุกปั้นอาหารไทย … ให้อิ่มนี้ มีอิทธิพล
泰国投资促进委员会秘书长 Narit Therdsteerasukdi 先生宣布,2024 年上半年的投资促进申请同比增长 35%,总额达到 4584 亿泰铢(128 亿美元)。主要行业包括电子和电器、汽车、化学品和数据中心。外国直接投资增长 16%,主要来自新加坡、中国和香港。泰国投资促进委员会计划通过即将在亚洲举行的路演吸引更多对半导体和电动汽车的投资。
In focus / China in focus : รู้เขา รู้เรา ชนะใจนักท่องเที่ยวจีน
TAT launches “Amazing Thailand Passion Ambassador” initiative
TTM+ 2024 estimated to generate 4.4 billion Baht worth of economic and business value
SET_Source_statement-ea
Thailand approves 60-day visa-free entry for 93 countries starting from July 15th
TAT’s marketing plan 2025 to ignite ‘Amazing Thailand Grand Tourism Year’
mai-LiVEx-จัดสัมมนาสัญจร_1200x600

คิวเอสเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2567

เผยอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย

ลอนดอน, 9 พฤศจิกายน 2566 /PRNewswire/ — ผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยเอเชีย 2567 โดยคิวเอส (QS World University Rankings: Asia 2024) คือการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยพิจารณาจากการเป็นที่ยอมรับในแวดวงวิชาการและในหมู่ผู้จ้างงาน ความสามารถในการวิจัย ทรัพยากรในการเรียนการสอน และความเป็นสากล โดยปีนี้เป็นการจัดอันดับครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา โดยมีมหาวิทยาลัย 857 แห่งจาก 25 ประเทศและดินแดนต่าง ๆ รวมถึงมหาวิทยาลัยใหม่ ๆ 149 แห่งที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อการจัดอันดับมาก่อน ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยปักกิ่งรักษาตำแหน่งมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชียเป็นปีที่สองติดต่อกัน ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยฮ่องกงเป็นอันดับที่สอง และมหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์เป็นอันดับที่สาม อินเดียเป็นประเทศที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับมากที่สุดถึง 148 แห่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมากจากปีที่แล้วถึง 30 แห่ง ในขณะที่จีนแผ่นดินใหญ่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับ 133 แห่ง และญี่ปุ่น 96 แห่ง นอกจากนี้แล้ว ยังมีมหาวิทยาลัยจากเมียนมา, กัมพูชา และเนปาล รวมอยู่ในการจัดอันดับเป็นครั้งแรกอีกด้วย

 

 

มหาวิทยาลัย 20 อันดับแรกของเอเชีย

2567

2566

ประเทศ

1

1

         

มหาวิทยาลัยปักกิ่ง (Peking University)

จีน

2

4

         

มหาวิทยาลัยฮ่องกง (The University of Hong Kong)

ฮ่องกง

3

2

         

มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ (National University of Singapore)

สิงคโปร์

=4

5

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีหนานหยาง (Nanyang Technological University)

สิงคโปร์

=4

3

มหาวิทยาลัยชิงหัว (Tsinghua University)

จีน

6

6=

         

มหาวิทยาลัยเจ้อเจียง (Zhejiang University)

จีน

7

6=

         

มหาวิทยาลัยฟูตัน (Fudan University)

จีน

8

12=

มหาวิทยาลัยยอนเซ (Yonsei University)

เกาหลีใต้

9

15

มหาวิทยาลัยเกาหลี (Korea University)

เกาหลีใต้

10

12=

         

มหาวิทยาลัยจีนแห่งฮ่องกง (Chinese University of Hong Kong)

ฮ่องกง

=11

10

         

มหาวิทยาลัยเซี่ยงไฮ้เจียวทง (Shanghai Jiao Tong University)

จีน

=11

9

มหาวิทยาลัยมาลายา (Universiti Malaya)

มาเลเซีย

13

8

สถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีขั้นสูงแห่งเกาหลี (KAIST)

เกาหลีใต้

14

11

มหาวิทยาลัยโตเกียว (The University of Tokyo)

ญี่ปุ่น

15

14

         

มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งฮ่องกง (HKUST)

ฮ่องกง

16

17

มหาวิทยาลัยแห่งชาติโซล (Seoul National University)

เกาหลีใต้

=17

23

มหาวิทยาลัยซิตี้ฮ่องกง (City University of Hong Kong)

ฮ่องกง

=17

16

         

มหาวิทยาลัยเกียวโต (Kyoto University)

ญี่ปุ่น

19

18

มหาวิทยาลัยซองคยุนกวาน (Sungkyunkwan University)

เกาหลีใต้

20

22

มหาวิทยาลัยโทโฮคุ (Tohoku University)

ญี่ปุ่น

 

จีนเป็นผู้นำเอเชียในฐานะศูนย์กลางการวิจัย โดยมีมหาวิทยาลัย 24 แห่งติด 50 อันดับแรกในด้านจำนวนครั้งที่งานวิจัยแต่ละฉบับได้รับการอ้างอิง (Citations per Paper) ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่างานวิจัยของมหาวิทยาลัยเหล่านี้มีอิทธิพลในระดับสูง อินเดียมีความโดดเด่นในด้านปริมาณงานวิจัย โดยมีมหาวิทยาลัย 7 แห่งติด 10 อันดับแรกในด้านจำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ต่อจำนวนอาจารย์ (Papers per Faculty) และอินเดียยังขึ้นชื่อว่ามีสัดส่วนบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอกเป็นจำนวนมากอีกด้วย

ญี่ปุ่นยังคงมีชื่อเสียงที่ดีในระดับสากลทั้งในหมู่ผู้จ้างงานและแวดวงวิชาการ ในขณะที่คาซัคสถานเป็นผู้นำในเอเชียกลาง โดยมีมหาวิทยาลัย 1 แห่งที่ติด 100 อันดับแรก

สิงคโปร์รักษาตำแหน่งแนวหน้าในด้านการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเอเชีย โดยมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งติด 5 อันดับแรกและมีอิทธิพลอย่างมากในด้านงานวิจัย ขณะที่เกาหลีใต้ก็มีความเป็นเลิศในด้านวิชาการ โดยมีมหาวิทยาลัย 2 แห่งก้าวขึ้นมาอยู่ใน 10 อันดับแรก

มหาวิทยาลัยในมาเลเซียได้รับการยอมรับว่าโดดเด่นด้านความเป็นสากล ส่วนอิหร่านเป็นผู้นำของเอเชียในด้านผลิตภาพของงานวิจัยและจำนวนบุคลากรที่สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก อินโดนีเซียและไทยมีความโดดเด่นในด้านการมีคณาจารย์จากต่างประเทศในสัดส่วนที่สูง และเวียดนามทำผลงานได้ดีที่สุดในแง่ชื่อเสียงในหมู่ผู้จ้างงาน

คุณเบน โซวเตอร์ (Ben Sowter) รองประธานอาวุโสของคิวเอส กล่าวว่า "ผลการจัดอันดับในปีนี้ตอกย้ำว่า ความพยายามในการยกระดับมาตรฐานทางวิชาการและคุณภาพงานวิจัยถือเป็นหัวใจสำคัญสำหรับความก้าวหน้าของภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเอเชีย"

โลโก้ – https://mma.prnasia.com/media2/2142268/4139307/QS_Quacquarelli_Symonds_Logo.jpg?p=medium600

Source : คิวเอสเผยผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในเอเชีย ประจำปี 2567

The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.

Related Posts

Next Post

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

*By registering into our website, you agree to the Terms & Conditions and Privacy Policy.

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?