ศาสตราจารย์เสวี่ย ฉีคุน จากมหาวิทยาลัยชิงหวา และศาสตราจารย์แอชวิน วิชวานาท จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้รับรางวัลเชิดชูผลงานความก้าวหน้าทางนวัตกรรมในการวิจัยเรื่องวัสดุศาสตร์ในระดับควอนตัมทอพอโลยี
ปักกิ่ง, 26 ต.ค. 2566 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ดาต้าเซ็ต
ศาสตราจารย์เสวี่ย ฉีคุน (Xue Qikun) นักวิชาการของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (Chinese Academy of Sciences) ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยชิงหวา (Tsinghua University) และอธิการบดีมหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภาคใต้ (Southern University of Science and Technology) ได้รับรางวัลโอลิเวอร์ อี บักลีย์ สาขาฟิสิกส์ของสสารควบแน่น (Oliver E. Buckley Condensed Matter Physics Prize) ประจำปี 2567 ถือเป็นนักฟิสิกส์สัญชาติจีนคนแรกที่คว้ารางวัลนี้ ร่วมกับศาสตราจารย์แอชวิน วิชวานาท (Ashvin Vishwanath) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) ทั้งสองได้รับการยอมรับจากผลงาน "การศึกษาทางทฤษฎีและการทดลองที่ไม่เคยปรากฏมาก่อนเกี่ยวกับคุณสมบัติทางอิเล็กทรอนิกส์โดยรวมของวัสดุ ที่สะท้อนถึงลักษณะทอพอโลยีของโครงสร้างของแถบนำ"
ศาสตราจารย์เสวี่ย กล่าวว่า "ความสำเร็จนี้เป็นผลจากการที่จีนเติบโตอย่างมั่นคงในด้านความแข็งแกร่งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงการสั่งสมการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานมายาวนานนับตั้งแต่การปฏิรูปและการเปิดประเทศของจีนซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อสี่ทศวรรษที่แล้ว เกียรติยศนี้เป็นของนักวิจัยทุกคนในทีม รวมถึงนักวิทยาศาสตร์ชาวจีนทุกคน"
Professor Qikun Xue is China’s first scientist to win this award in the field of condensed matter physics.
ตั้งแต่ปี 2552 ศาสตราจารย์เสวี่ยเป็นผู้นำการวิจัยร่วมกับกลุ่มวิจัยจากมหาวิทยาลัยชิงหวา สถาบันฟิสิกส์ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน และมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) เพื่อรับมือกับความท้าทายที่พบจากการทดลองเกี่ยวกับควอนตัมปรากฏการณ์ฮอลล์ที่ผิดปกติ (QAH) หลังจากที่ก้าวข้ามอุปสรรคและความล้มเหลวมากมาย เมื่อสิ้นปี 2555 พวกเขาก็บรรลุเป้าหมายทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญด้วยการเป็นคนแรกในโลกที่ทดลองสังเกตผลของปรากฏการณ์ QAH ในฉนวนทอพอโลยีแบบแม่เหล็ก
การค้นพบใหม่ของศาสตราจารย์เสวี่ยได้พัฒนาสาขาฟิสิกส์ให้ก้าวหน้าไปอย่างมาก และช่วยบุกเบิกเส้นทางใหม่สำหรับการวิจัยเรื่องสสารควบแน่นทั่วโลก ทั้งนี้ ผลในทางปฏิบัติก็น่าจะเป็นเช่นนั้นเหมือนกัน เนื่องจากปรากฏการณ์ QAH และสถานะขอบที่ไม่มีการกระจายความร้อนนั้นมีศักยภาพในการปฏิวัติอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้พลังงานต่ำในอนาคต
นอกจากเรื่องวัสดุศาสตร์ในระดับควอนตัมทอพอโลยีแล้ว ศาสตราจารย์เสวี่ยยังส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์ในสาขาสภาพนำยิ่งยวดและตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดที่อุณหภูมิสูง ซึ่งได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่องจากนักฟิสิกส์รุ่นต่อรุ่นมานานกว่าร้อยปี
ในปี 2555 ศาสตราจารย์เสวี่ย ซึ่งเป็นผู้นำทีมวิจัยจากภาควิชาฟิสิกส์ที่มหาวิทยาลัยชิงหวา ค้นพบตัวนำยิ่งยวดที่อุณหภูมิสูงในฟิล์ม FeSe เซลล์เดียวที่ทำจากสารตั้งต้น SrTiO3 การค้นพบนี้ได้รับการตีพิมพ์ในบทความที่เผยแพร่ในปี 2555 ท้าทายความเข้าใจเกี่ยวกับตัวนำไฟฟ้ายิ่งยวดที่อุณหภูมิสูงที่มีอยู่ในขณะนั้น โดยเสนอมุมมองที่แปลกใหม่และเป็นนวัตกรรม ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจิตวิญญาณแห่งการค้นคว้าทดลองของนักวิทยาศาสตร์ชาวจีน
Source : นักฟิสิกส์สัญชาติจีนคนแรกคว้ารางวัลโอลิเวอร์ อี บักลีย์ สาขาฟิสิกส์ของสสารควบแน่น ปี 2567
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.
Discover more from ข่าวธุรกิจประเทศไทย
Subscribe to get the latest posts sent to your email.