In focus / ได้เวลาปลุกปั้นอาหารไทย … ให้อิ่มนี้ มีอิทธิพล
泰国投资促进委员会秘书长 Narit Therdsteerasukdi 先生宣布,2024 年上半年的投资促进申请同比增长 35%,总额达到 4584 亿泰铢(128 亿美元)。主要行业包括电子和电器、汽车、化学品和数据中心。外国直接投资增长 16%,主要来自新加坡、中国和香港。泰国投资促进委员会计划通过即将在亚洲举行的路演吸引更多对半导体和电动汽车的投资。
In focus / China in focus : รู้เขา รู้เรา ชนะใจนักท่องเที่ยวจีน
TAT launches “Amazing Thailand Passion Ambassador” initiative
TTM+ 2024 estimated to generate 4.4 billion Baht worth of economic and business value
SET_Source_statement-ea
Thailand approves 60-day visa-free entry for 93 countries starting from July 15th
TAT’s marketing plan 2025 to ignite ‘Amazing Thailand Grand Tourism Year’
mai-LiVEx-จัดสัมมนาสัญจร_1200x600

ผลสำรวจโดย Aon เผยการปรับเงินเดือนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 5% ในปี 2567

กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย – Media OutReach Newswire – 8 กุมภาพันธ์ 2567 – Aon plc (NYSE: AON) บริษัทผู้ให้บริการมืออาชีพชั้นนําระดับโลกได้เปิดเผยว่า การปรับเงินเดือนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในปี 2567 จากผลการศึกษาเกี่ยวกับการปรับขึ้นเงินเดือนและการลาออกของพนักงานประจำปี 2566
อย่างไรก็ตาม ขณะที่การปรับเงินเดือนในประเทศไทยมีการคาดการณ์ว่าจะเพิ่มขึ้นไปถึง 4.9% แต่การปรับเงินเดือนในสิงคโปร์และมาเลเซียกลับถูกมองว่าจะคงระดับที่ 4.0% และ 5.0% ตามลำดับ ผลสำรวจยังพบอีกว่าในปี 2567 เงินเดือนเฉลี่ยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น 6.5% สำหรับประเทศอินโดนีเซีย 5.5% สำหรับประเทศฟิลิปปินส์ และ 8.0% สำหรับประเทศเวียดนาม

อัตราการลาออกในปี 2565 อัตราการลาออกในปี 2566 การปรับขึ้นเงินเดือนจริงในปี 2566 การคาดการณ์การปรับขึ้นเงินเดือนในปี 2567
อินโดนีเซีย 15.9% 15.1% 6.0% 6.5%
มาเลเซีย 14.9% 16.2% 5.0% 5.0%
ฟิลิปปินส์ 18.0% 17.5% 5.2% 5.5%
สิงคโปร์ 19.6% 16.5% 4.0% 4.0%
ไทย 15.4% 14.0% 4.7% 4.9%
เวียดนาม 15.2% 13.8% 7.5% 8.0%

ถึงแม้เปอร์เซ็นต์การปรับเงินเดือนนั้นจะสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่การปรับเงินเดือน ที่ ในประเทศไทยก็ยังมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นท่ามกลางความกังวลเรื่องการชะลอตัวของเศรษฐกิจ ในขณะที่อัตราการลาออกของพนักงานทั่วทั้งประเทศในปี 2566 ลดลงมาอยู่ที่ 14.0% เทียบกับในปี 2565 ที่อยู่ที่ 15.4% ทว่ายังคงเป็นตัวเลขสองหลักซึ่งเป็นผลจากกลยุทธ์เกี่ยวกับบุคลากรที่มีเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ รวมถึงความท้าทายด้านอุปสงค์และอุปทานที่พบได้ตลอด โดยประเทศที่มีอัตราการลาออกสูงที่สุดคือฟิลิปปินส์ โดย อยู่ที่ 17.5% ขณะที่เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราการลาออกต่ำที่สุดอยู่ที่ 13.8%
Rahul Chawla พาร์ทเนอร์และหัวหน้าฝ่าย Talent Solutions ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ Aon กล่าวว่า “เมื่อบริษัทต้องคอยรับมือกับความไม่แน่นอนในรูปแบบใหม่ การวางแผนปรับขึ้นเงินเดือนจึงกลายมาเป็นความท้าทายในทั้งภูมิภาค การประเมินกลยุทธ์การจ่ายค่าตอบแทนใหม่โดยอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์ล่าสุดแสดงให้เห็นว่าบริษัทต่าง ๆ จะต้องรักษาความสามารถในการแข่งขันไว้ให้ได้ บริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลซึ่งได้จากภายในองค์กรเองรวมทั้งตลาดเพื่อช่วยในการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ซึ่งไม่เพียงจะพาพวกเขาผ่านพายุแห่งความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจนี้ไปได้ แต่จะช่วยให้พวกเขาประสบความสำเร็จในเรื่องโครงสร้างอัตรากำลังที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วย”
นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังเผยให้เห็นว่าธุรกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีทัศนคติเชิงบวกต่อเรื่องการจ้างงาน โดยมีบริษัทถึง 40% ที่รายงานว่าปัจจุบันยังไม่มีการเปลี่ยนแผนการสรรหาบุคลากร และมีบริษัทอีก 40% ที่มีข้อจำกัดด้านการจ้างงาน แม้ว่าการเลิกจ้างจะเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี แต่ข้อมูลของ Aon แสดงให้เห็นว่าจำนวนพนักงานในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ยังคงสูงกว่าระดับก่อนเกิดการโรคระบาด โดยส่วนใหญ่การเลิกจ้างจะเกิดขึ้นในส่วนที่ไม่ใช่ธุรกิจหลัก/ส่วนขยายธุรกิจ ในขณะที่การจ้างงานในสายธุรกิจต่าง ๆ ยังคงมีอยู่
การจ่ายค่าจ้างเฉลี่ยในกลุ่มพนักงานใหม่อยู่ระหว่าง 5.6% และ 13.3% โดยที่บริษัทต่างมีความระมัดระวังมากขึ้นเกี่ยวกับการจ่ายค่าตอบแทนเนื่องจากมีการปรับปรุงงบใหม่ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพต้นทุน และประเมินกลยุทธ์ด้านผลตอบแทนใหม่ ซึ่งสวนทางกับในปี 2565 ที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการจ้างงานสูงและมีการจ่ายค่าจ้างเฉลี่ยระหว่าง 14.7% และ 23.6% ในประเทศไทย การแข่งขันเพื่อจ้างผู้ที่มีความสามารถที่สูงขึ้นส่งผลให้การจ่ายค่าจ้างในทุกระดับสำหรับตำแหน่งงานด้านการจัดการผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นมาที่ 98% และ 64% สำหรับตำแหน่งงานด้านการออกแบบระบบ 44.8% สำหรับตำแหน่งงานด้านสร้างพันธมิตร 37.9% สำหรับตำแหน่งงานด้านทดสอบและตรวจสอบ และ 30.1% สำหรับตำแหน่งงานด้านการขายและการตลาดทางโทรศัพท์
สุเมธ คูรศิริกุล ที่ปรึกษาอาวุโสทางด้าน Talent Solutions ในประเทศไทยของ Aon กล่าวว่า “แบบสำรวจการบริหารความเสี่ยงทั่วโลกประจำปี 2566 ของ Aon ทำให้เห็นว่าผู้นำทางธุรกิจมองว่า “ความล้มเหลวในการดึงดูดและรักษาผู้มีความสามารถ” เป็นความเสี่ยงทางธุรกิจที่สำคัญ ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงการที่ผู้นำให้ความสำคัญกับเรื่องความเสี่ยงด้านบุคลากร ข้อมูลตลาดค่าตอบแทนมีความสำคัญอย่างยิ่งในการช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ เข้าใจว่าการจ่ายค่าตอบแทนของตนนั้นแข่งขันกับผู้อื่นได้หรือไม่ และยังช่วยกำหนดทิศทางการตัดสินใจที่สำคัญเพื่อดึงดูดและรักษาทักษะที่เป็นที่ต้องการซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงด้านบุคลากร อย่างไรก็ตาม ด้วยเศรษฐกิจที่ชะลอตัว การเพิ่มเงินเดือนอาจมีความไม่ยั่งยืน เนื่องจากธุรกิจต่างมองหาวิธีรักษาผลกำไรและลดต้นทุนด้านบุคลากรรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่น ๆ องค์กรที่มีกลยุทธ์การจ่ายค่าตอบแทนแบบองค์รวมโดยอาศัยข้อมูลและการวิเคราะห์ต่าง ๆ จะอยู่ในตำแหน่งที่ดีกว่าในการแข่งขันเพื่อแย่งชิงบุคลากรที่มีความสามารถที่พวกเขาต้องการ”
เมื่อมองไปในปี 2567 เงินเดือนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะยังคงแตกต่างกันไปตามอุตสาหกรรมและไม่เหมือนกันในแต่ละประเทศ อุตสาหกรรมค้าปลีกจะยังคงมีการปรับเพิ่มเงินเดือนสูงสุดที่ 6.1% ตามมาด้วยอุตสาหกรรมเทคโนโลยีที่ 6.0% วิทยาศาสตร์ชีวภาพและอุปกรณ์ทางการแพทย์ 5.9% การผลิต 5.8% และบริการทางการเงิน 4.8%
มีการคาดการณ์ว่าภาคการผลิตจะมีการปรับขึ้นเงินเดือนสูงสุดในประเทศไทย (8.0%) มาเลเซีย (13.7%) และฟิลิปปินส์ (14.5%) เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่อุตสาหกรรมเทคโนโลยีมีการปรับเงินเดือนสูงสุดในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในประเทศสิงคโปร์ (4.5%) อินโดนีเซีย (10.2%) และเวียดนาม (10.9%)
สำหรับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างมาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ตำแหน่งงานมากกว่าครึ่งที่ได้รับการขึ้นเงินเดือนสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ ประเทศสิงคโปร์และฟิลิปปินส์มีการปรับขึ้นเงินเดือนสูงกว่าเงินเฟ้อ 71.7% และประเทศมาเลเซียมีการปรับขึ้นเงินเดือนสูงกว่าเงินเฟ้อ 56.4% สำหรับประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม และไทย 70% ของการปรับขึ้นเงินเดือนโดยเฉลี่ยนั้นต่ำกว่าเงินเฟ้อ ขณะที่บริษัทในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 67% นำแรงกดดันที่เกิดจากเงินเฟ้อมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณานโยบายการจ่ายผลตอบแทนเมื่อมีการพิจารณาการปรับขึ้นเงินเดือน
ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้อิงตามข้อมูลที่รวบรวมในไตรมาสที่สามของปี 2566 จากบริษัท 950 แห่งทั่วอินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ ไทย และเวียดนาม เรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการศึกษาการปรับขึ้นเงินเดือนและการลาออกของพนักงานปี 2566 ได้ที่นี่
Hashtag: #Aon

The issuer is solely responsible for the content of this announcement.

เกี่ยวกับ Aon

(NYSE: AON) ก่อตั้งขึ้นเพื่อช่วยกำหนดทิศทางในการตัดสินใจให้ดีขึ้น รวมถึงเพื่อปกป้องและยกระดับชีวิตของผู้คนทั่วโลก ผู้เชี่ยวชาญของเราคอยให้คำแนะนำและแนวทางแก้ไขปัญหาแก่ลูกค้าในกว่า 120 ประเทศและรัฐเอกราช ซึ่งมอบความชัดเจนและความมั่นใจในการตัดสินใจเพื่อปกป้องและขยายธุรกิจของพวกเขาได้ดียิ่งขึ้น
ติดตาม Aon ได้ทาง , , และ รวมถึงสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดได้จาก ของ Aon และสมัครรับข่าวสาร
ข้อความปฏิเสธความรับผิดชอบ
ข้อมูลในเอกสารนี้มีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ข้อมูลและเป็นแนวทางทั่วไปเท่านั้น ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแจ้งสถานการณ์ของบุคคลหรือนิติบุคคลใดโดยเฉพาะ แม้ว่า Aon จะพยายามให้ข้อมูลที่ถูกต้องและทันเวลา และใช้แหล่งข้อมูลที่ถือว่าเชื่อถือได้แต่บริษัทไม่รับรอง แสดงให้เห็นภาพ หรือรับประกันความถูกต้อง ความครบถ้วน ความสมบูรณ์ หรือความเหมาะสมสำหรับวัตถุประสงค์ใด ๆ ของเนื้อหาในเอกสารนี้ และไม่สามารถ และไม่รับผิดชอบต่อความเสียหายใด ๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าทางใดทางหนึ่งโดยบุคคลใดก็ตาม เราไม่สามารถรับประกันได้ว่าความถูกต้องของข้อมูลในเอกสารนี้จะยังคงอยู่ ณ วันที่ได้รับหรือในอนาคต บุคคลหรือนิติบุคคลไม่ควรตัดสินใจหรือดำเนินการใด ๆ โดยใช้ข้อมูลที่มีอยู่ในนี้โดยปราศจากคำแนะนำที่เหมาะสมจากผู้เชี่ยวชาญและการค้นคว้าวิจัยที่ตรงตามเป้าหมาย

36955

Source : ผลสำรวจโดย Aon เผยการปรับเงินเดือนในประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 5% ในปี 2567

media outreach
The information provided in this article was created by Media OutReach, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.

Related Posts

Next Post

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

*By registering into our website, you agree to the Terms & Conditions and Privacy Policy.

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Are you sure want to unlock this post?
Unlock left : 0
Are you sure want to cancel subscription?