บาร์เซโลนา สเปน, 1 มี.ค. 2567 /พีอาร์นิวส์ไวร์/ — ในระหว่างการจัดงานโมบายล์ เวิลด์ คองเกรส ที่จัดขึ้นในบาร์เซโลนา ประจำปี 2567 (MWC Barcelona 2024) ผู้ใช้บริการระดับสูงกว่า 60 ราย จากบริษัทผู้ให้บริการระดับโลกและผู้นำในอุตสาหกรรมเข้าร่วมงานพัฒนาทักษะความอัจฉริยะทางดิจิทัล (Digital Intelligence Talent Development) ของหัวเว่ย (Huawei) โดยได้เปิดตัวโซลูชันบริการพัฒนาทักษะของบริษัทฯ ในระหว่างงานประชุมในครั้งนี้
คุณเจสัน หลิว (Jason Liu) ประธานฝ่ายบริการด้านการเรียนรู้และการรับรองของหัวเว่ย กล่าวว่า "ในยุคแห่งเทคโนโลยีอัจฉริยะ เราจะสามารถเร่งให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาความอัจฉริยะดิจิทัลได้ ด้วยการนำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ร่วมกับความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมและข้อมูลอันมีค่าที่บริษัทต่าง ๆ สั่งสมมา" เทคโนโลยีทำให้สิ่งต่าง ๆ ทำงาน และผู้คนก็ทำให้เทคโนโลยีทำงานได้เช่นกัน ทั้งนี้ คุณเจสัน หลิว ได้ร่วมแบ่งปันมุมมองสามประการที่เกี่ยวกับการพัฒนาทักษะดังต่อไปนี้
- ทักษะพร้อมด้วยการมีความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมยังคงเป็นสินทรัพย์ที่มีค่ามากที่สุด แต่ทุกคนควรเพิ่มทักษะของตนด้วยการใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์
- ผู้ออกแบบโครงสร้างบริการ AI และวิศวกรผู้สร้างอัลกอริทึม AI จะกลายเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในยุคของเทคโนโลยีอัจฉริยะ
- แพลตฟอร์มการเรียนรู้ที่ใช้ AI ในการทำงาน จะทำให้การเรียนรู้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น
ทั้งนี้ หัวเว่ยเปิดตัวโซลูชันบริการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องตามกระแสคุณค่าของการพัฒนาทักษะของลูกค้า ซึ่งโดยทั่วไปประกอบด้วยการวางแผน การพัฒนา การประเมิน และการนำทักษะไปใช้งาน โดยโซลูชันดังกล่าวจะช่วยผู้ใช้บริการสามารถสร้างทีมงานที่ประกอบด้วยผู้มีทักษะด้านดิจิทัล และส่งเสริมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การดำเนินการและบำรุงรักษา (O&M) และบริการทางดิจิทัล
ศาสตราจารย์ ยานนิก ไมลเลอร์ (Professor Yannick Meiller) จาก ESCP Business School กล่าวไว้ในการแสดงปาฐกถาพิเศษของเขาว่า "ในช่วงยุคการเปลี่ยนแปลงพัฒนาความอัจฉริยะทางดิจิทัล องค์กรต่าง ๆ จำเป็นต้องสร้างทีมผู้มีความสามารถที่มีความคิดสร้างสรรค์ มีกระบวนความคิดเชิงตรรกะและมีจรรยาบรรณ รวมทั้งมีความเชี่ยวชาญ"
คุณอันโตนิโอ เดอ ลุยส์ อเซเวโด (Antonio de Luis Acevedo) กรรมการผู้จัดการ State Foundation for Training in Employment (Fundae) เน้นว่าการพัฒนาทักษะควรเชื่อมสติปัญญาไว้ด้วยกันอย่างครอบคลุม และไม่ทิ้งผู้ใดไว้เบื้องหลังในระหว่างกระบวนการเปลี่ยนแปลงปรับตัวทางดิจิทัล
คุณรูเมย์ซา เคย์มาคซี (Rumeysa Kaymakci) ผู้อำนวยการ Turkcell Academy ในประเทศตุรเคีย ชี้ว่า ในอนาคต การเป็นผู้นำที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลควรมุ่งความสนใจไปที่การเปลี่ยนแปลงวิธีการคิดของผู้นำ การบริหารจัดการทีม และการให้ความร่วมมือกัน
คุณฮามาดลัน แฮมดัน (Hamadlan Hamdan) รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารฝ่ายเทคโนโลยีของ Sarawak Digital Economy Corporation เชื่อว่าเศรษฐกิจดิจิทัลของบริษัทจำเป็นต้องมีการเปลี่ยนแปลงปรับตัวทางดิจิทัล โดยการเปลี่ยนแปลงทักษะของบุคลากรจะเป็นสิ่งสำคัญในกรณีนี้
คุณมาห์ดิ เจมาล (Mahdi Jemal) ผู้บริหารระดับสูงทางด้านการรักษาความปลอดภัยของ Ethio Telecom ได้อธิบายเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การพัฒนาทักษะของ Ethio Telecom และร่วมแบ่งปันว่า แพลตฟอร์มที่ผสานการให้บริการระหว่างโลกออนไลน์และนอกเว็บ (Online-Merge-Offline หรือ OMO) ของหัวเว่ยที่สร้างการวางแผนและพัฒนาดูแลทักษะให้เป็นภาพและสามารถจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้ Ethio Telecom บรรลุผลการพัฒนาทักษะตามเป้าหมายได้อย่างโดดเด่น
บริการพัฒนาทักษะมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพัฒนาความอัจฉริยะทางดิจิทัลทั่วทั้งอุตสาหกรรม ทั้งนี้ หัวเว่ยจะยังคงทำหน้าที่เป็นสะพานเชื่อมบุคลากรผู้มีความสามารถทั่วโลกไว้ด้วยกัน และร่วมมือกับผู้ใช้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อนำไปสู่การพัฒนาทักษะในโลกแห่งความเป็นอัจฉริยะ
Source : "หัวเว่ย" เปิดตัวโซลูชันบริการพัฒนาทักษะเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงให้บุคลากรมีทักษะทางดิจิทัล
The information provided in this article was created by Cision PR Newswire, our news partner. The author's opinions and the content shared on this page are their own and may not necessarily represent the perspectives of Thailand Business News.
Discover more from ข่าวธุรกิจประเทศไทย
Subscribe to get the latest posts sent to your email.