ฮ่องกง (3 เมษายน 2562) – ประเทศกำลังพัฒนาของเอเชียยังคงเติบโตอย่างแข่งแกร่งทั่วทั้งภูมิภาค แต่ในระดับที่ชะลอตัวในปีนี้และปีหน้า เนื่องจากความตึงเครียดทางการค้าที่มีอย่างต่อเนื่อง

รายงานแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย ประจำปี 2562 (Asian Development Outlook (ADO) 2019) ซึ่งเป็นรายงานภาวะเศรษฐกิจฉบับหลักของธนาคารพัฒนาเอเชีย หรือ เอดีบี  คาดว่าเศรษฐกิจในภูมิภาคจะชะลอตัวลงอยู่ที่ร้อยละ 5.7 ในปี 2562 และร้อยอละ 5.6% ในปี 2563 และคาดว่าประเทศเอเชียกำลังพัฒนา (ซึ่งไม่ได้รวมประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ได้แก่ ฮ่องกง เกาหลี สิงคโปร์ และไต้หวัน) จะขยายตัวร้อยละ 6.2 ในปี 2562 เมื่อเทียบกับร้อยละ 6.4  ในปี 2561 และลดต่ำลงเล็กน้อยมาอยู่ที่ร้อยละ 6.1 นปี 2563

นายยาซูยูกิ ซาวาดะ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของเอดีบีกล่าวว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจโดยรวมยังเข้มแข็งจากการบริโภคในประเทศที่แข็งแกร่งและการขยายตัวในเศรษฐกิจส่วนใหญ่ในภูมิภาค ซึ่งได้ช่วยลดผลกระทบจากการส่งออกที่ชะลอตัวลง อย่างไรก็ดี ความไม่แน่นอนของแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับสูง

ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนยังคงเป็นความเสี่ยงหลักต่อแนวโน้มเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเฉพาะการเจรจาที่ยืดเยื้อจะยิ่งผลักดันให้เกิดความไม่แน่นอนในการค้าโลก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ จากโอกาสการชะลอตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจในประเทศที่พัฒนาแล้ว และเศรษฐกิจจีน รวมทั้งความผันผวนทางเศรษฐกิจ

เอดีบีคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น รวมกันอาจชะลอตัวมาอยู่ที่ร้อยละ 1.9 ในปีนี้ และร้อยละ 1.6 ในปี 2563 เนื่องจากความตึงตัวทางการคลังและการเงินของสหรัฐอเมริกา ความไม่แน่นอนของแนวโน้มการออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ และความขัดแย่งทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐอเมริกา

ในประเทศจีน การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจจากภาคอุตสาหกรรมสู่ภาคบริการ และการเงินที่ตึงตัวจากนโยบายรัฐบาลที่พยายามควบคุมความเสี่ยงทางการเงินจะทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงมาอยู่ที่ร้อยละ 6.3 ในปี 2562 และร้อยละ 6.1 ในปี 2563 ลดลงจากที่เคยเติบโตร้อยละ  6.6 ในปี 2561 ทั้งนี้ คาดว่าเศรษฐกิจจีนจะชะลอตัวลง ในขณะที่ระดับการพัฒนาของจีนเพิ่มสูงขึ้น

ในทางตรงกันข้าม การบริโภคที่แข็งแกร่งขึ้นในอินเดียจะช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศขยายตัวขึ้นจากร้อยละ 7 ในปี 2561 มาอยู่ที่ร้อยละ 7.2 ในปี 2562 และร้อยละ 7.3 ในปี 2563 อันเนื่องมาจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายและนโยบายสนับสนุนรายได้เกษตรกรที่จะช่วยเพิ่มความต้องการซื้อในประเทศ สำหรับภาพรวมการเติบโตทางเศรษฐกิจของเอเชียใต้จะดีกว่าภูมิภาคอื่นๆ โดยคาดว่าจะขยายตัวที่ร้อยละ 6.8 ในปีนี้ และร้อยละ 6.9 ในปีหน้า

การเติบโตของเศรษฐกิจกลุ่มแปซิฟิกจะกลับมาดีขึ้นจากร้อยละ 0.9 ในปี 2561 เป็นร้อนละ 3.5 ในปี 2562 เนื่องจากการผลิตก๊าซธรรมชาติในปาปัวนิวกินี ซึ่งเป็นเศรษฐกิจที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาค จะกลับมาผลิตได้เต็มกำลังภายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในปี 2561 ทำให้คาดว่าเศรษฐกิจในปี 2563 จะขยายตัวที่ร้อยละ 3.2

ราคาน้ำมันที่ลดลงควบคู่กับการชะลอตัวของเศรษฐกิจรัสเซียจะเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจในกลุ่มเอเชียกลาง โดยอัตราการเติบโตของภูมิภาคนี้คาดว่าจะขยายตัวชะลอลงมาอยู่ที่ร้อยละ 4.2 ในปีนี้  และในปี 2563

นอกจากนี้ งานวิจัยในรายงาน ADO ฉบับล่าสุด ยังระบุอีกว่า เงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ โดยราคาอาหารและราคาน้ำมันที่ทรงตัว จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำที่ร้อยละ 2.5  ทั้งในปี 2562  และปี 2563

ในขณะที่ค่าเงินของตลาดเกิดใหม่ในเอเชียค่อนข้างปรับตัวดีขึ้นในช่วงปลายปี 2561 งานวิจัยของเอดีบีดังกล่าววชี้ให้เห็นว่า ความผันผวนของค่าเงินยังคงเป็นปัญหาอยู่ โดยเฉพาะประเทศที่มีหนี้ในสกุลดอลลาร์สหรัฐค่อนข้างมาก ดังนั้น นโยบายการเงินและนโยบานเศรษฐกิจมหภาคที่รัดกุม ควบคู่กับการพูดคุยเชิงนโยบายในภูมิภาค และตลาดทุนในท้องถิ่นที่มีการพัฒนาเชิงลึก จะช่วยลดผลกระทบจากสถานการณ์ความตึงตัวของการระดมทุนจากต่างประเทศได้

เอดีบีมุ่งมั่นในการพัฒนาภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกให้เจริญรุ่งเรือง มีการพัฒนาอย่างทั่วถึง พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง และมีความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน ยังคงพยายามในการขจัดปัญหาความยากจนต่อไป  ในปี 2018 การดำเนินงานของเอดีบีทั้งเงินกู้และเงินให้เปล่ามีมูลค่ารวมทั้งหมด 21.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ เอดีบีก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2509 โดยมีประเทศสมาชิกทั้งหมด 68 ประเทศ โดย 49 ประเทศ มาจากประเทศในภูมิภาค

About the author

Leave a Reply

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.

Sign Up for Our Newsletter

Get notified of our weekly selection of news

You May Also Like

Consumer confidence hits 20-month high in November

According to a survey released on Thursday, stronger economic activity following the relaxation of Covid-19 limits and an increase in foreign visitor arrivals helped Thai consumer confidence rise for a sixth consecutive month in November

Developing Countries to Be Hard Hit by Long-Term Slowdown

Excluding China, growth in emerging market and developing economies is expected to decelerate from 3.8% in 2022 to 2.7% in 2023

Fitch Ratings downgrades projected Thai growth to 3% this year

According to Fitch, Thailand’s gross domestic product (GDP) is expected to grow by 3.0% in 2023, down from its previous projection of 3.2%.